แคตตาล็อกออนไลน์

ปั๊มสุญญากาศ ราคา

คำค้นสินค้า :  ปั๊มสุญญากาศ
ขอรายละเอียด ขอใบเสนอราคา

ปั๊มสุญญากาศ ราคา

ประเภทและรูปแบบการใช้งานปั๊มสูญญากาศ (Vacuum Pump)

ในปัจจุบันนี้ปั๊มสูญญากาศ (Vacuum Pump) ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีรูปแบบและวิธีการใช้งานที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการนำเอาปั๊มสูญญากาศ หรือ Vacuum Pump มาใช้งานในสภาพแวดล้อมและอุตสาหกรรมที่หลากหลายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งประเภทของปั๊มสูญญากาศ (Vacuum Pump) ที่เราหยิบยกขึ้นมานำเสนอในวันนี้นั้นก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ซึ่งมีรูปแบบและหลักการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  1. ปั๊มสูญญากาศแบบ Liquid Ring Compressor Pump
  2. ปั๊มสูญญากาศ แบบ Liquid RingVacuum Pump
  3. ปั๊มสูญญากาศ แบบ Dry Vacuum Pump
  4. ปั๊มสูญญากาศ แบบ Gas Ejector
การใช้งาน
  1. ปั๊มสูญญากาศ แบบ Liquid RingVacuum Pump
    ปั๊มสูญญากาศ แบบ Liquid Ring Vacuum Pump หรือปั๊มสูญญากาศแบบวงแหวนน้ำ เป็นระบบปั๊มสูญญากาศที่มีหลักการทำงานที่เรียบง่าย โดยอาศัยแรงเหวี่ยงของใบพัดเพื่อช่วยทำให้ของเหลวภายในตัวปั๊มสูญญากาศเกิดลักษณะที่เป็นวงแหวน และสามารถทำการบีบอัดก๊าซหรืออากาศเพื่อสร้างเป็นสภาวะสูญญากาศได้โดยที่ไม่มีชิ้นส่วนไหนของปั๊มสูญญากาศ (Vacuum Pump) ที่ต้องสัมผัสกัน เพราะฉะนั้นแล้วปั๊มสูญญากาศแบบ Liquid Ring Vacuum Pump จึงได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานเพื่อการช่วยจัดการกับสภาวะที่มีสารเคมีปนเปื้อนสูง สภาวะที่มีฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกปนเปื้อน ตลอดจนสภาวะที่มีอุณหภูมิสูง และสภาวะที่มีไอน้ำหรือความชื้นเป็นจำนวนมาก เป็นต้น
     
  2. ปั๊มสูญญากาศแบบ Liquid Ring Compressor Pump
    ปั๊มสูญญากาศ แบบ Liquid Ring Compressor Pump หรือปั๊มสูญญากาศแบบคอมเพรสเซอร์วงแหวนน้ำ จะมีหลักการทำงานเพื่อการช่วยสร้างสภาวะสูญญากาศ โดยอาศัยแรงหมุนของใบพัดเพื่อสร้างวงแหวนของเหลวเช่นเดียวกันปั๊มสูญญากาศ แบบ Liquid Ring Vacuum Pump แต่อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการใช้งานปั๊มสูญญากาศ แบบ Liquid Ring Compressor Pump นั้นก็ถือได้ว่ามีข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าปั๊มสูญญากาศ แบบ Liquid Ring Vacuum Pump ค่อนข้างมากส่งผลให้ปั๊มสูญญากาศ แบบ Liquid Ring Compressor Pump หรือปั๊มสูญญากาศแบบคอมเพรสเซอร์วงแหวนน้ำ จึงได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องการนำก๊าซหรือไอระเหยหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ในอุตสาหกรรม ตลอดจนการนำมาใช้งานแบบเฉพาะด้านเพื่อการช่วยบีบอัดก๊าซคลอรีนหรือไฮโดรเจน, การผลิตมอนอเมอร์ (Monomer) ของ Vinyl Chloride, การผลิตไบโอดีเซล, การผลิตเอทานอล, ตลอดจนกระบวนการ Tranesterification เป็นต้น
     
  3. ปั๊มสูญญากาศแบบ Dry Vacuum Pump
    Dry Vacuum Pump หรือปั๊มสูญญากาศแบบแห้ง เป็นปั๊มสูญญากาศ (Vacuum Pump) ประเภทหนึ่งที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เนื่องจากกระบวนการสร้างสภาวะสูญญากาศของปั๊มสูญญากาศ แบบ Dry Vacuum Pump นั้นอาศัยเพียงแค่การหมุนสวนทางกันของเกลียวที่อยู่ในปั๊มสูญญากาศ เพื่อกักเก็บก๊าซหรืออากาศให้อยู่ในระหว่างร่องของเกลียว โดยที่ไม่ต้องมีการใช้น้ำ น้ำมัน หรือสารหล่อลื่นประเภทต่าง ๆ รวมไปถึงไม่ได้มีการก่อให้เกิดความร้อนหรือการเผาไหม้ในระหว่างการใช้งาน ส่งผลให้ปั๊มสูญญากาศ แบบ Dry Vacuum Pump จึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้งานในสภาวะที่มีการกัดกร่อนสูง หรือสภาวะที่ไอของสารเคมีและ ไอน้ำเกิดการปนเปื้อนสูง ตลอดจนการนำมาใช้งานเพื่อกู้คืนไอระเหยที่ไม่ความแน่น (Uncondensed Vapour) ของตัวทำละลายประเภทต่าง ๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
     
  4. ปั๊มสูญญากาศแบบ Gas Ejector
    ปั๊มสูญญากาศ แบบ Gas Ejector เป็นปั๊มสูญญากาศ (Vacuum Pump) ที่ได้รับความนิยมในการนำมาสร้างสภาวะสูญญากาศในระบบต่าง ๆ ที่มีรูปแบบการใช้งานที่มีความหลากหลาย เนื่องด้วยหลักการทำงานของปั๊มสูญญากาศ แบบ Gas Ejector ที่มีการใช้แก๊สแรงดันสูงในการทำหน้าที่บีบอัดแก๊สส่วนเกินตามทฤษฎีของเบอร์นูลี่ (Bernoulli’s Principle) เพื่อสร้างสภาวะสูญญากาศโดยที่ไม่ทำให้ชิ้นส่วนปั๊มสูญญากาศ แบบ Gas Ejector ต้องเกิดการเคลื่อนไหวที่นำไปสู่การสึกหรอและการเสื่อมสภาพเกิดขึ้น ส่งผลให้โดยส่วนใหญ่แล้วปั๊มสูญญากาศแบบ Gas Ejector จึงมักจะถูกนำมาใช้งานเพื่อการช่วยกู้คืนแก๊สที่กำลังลุกเป็นไฟจากถังเก็บ หรือนำมาใช้สำหรับการกลั่นน้ำมันดิบ เป็นต้น