ปั๊มสุญญากาศ ราคา
ประเภทและรูปแบบการใช้งานปั๊มสูญญากาศ (Vacuum Pump)
ในปัจจุบันนี้ปั๊มสูญญากาศ (Vacuum Pump) ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีรูปแบบและวิธีการใช้งานที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการนำเอาปั๊มสูญญากาศ หรือ Vacuum Pump มาใช้งานในสภาพแวดล้อมและอุตสาหกรรมที่หลากหลายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งประเภทของปั๊มสูญญากาศ (Vacuum Pump) ที่เราหยิบยกขึ้นมานำเสนอในวันนี้นั้นก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ซึ่งมีรูปแบบและหลักการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- ปั๊มสูญญากาศแบบ Liquid Ring Compressor Pump
- ปั๊มสูญญากาศ แบบ Liquid RingVacuum Pump
- ปั๊มสูญญากาศ แบบ Dry Vacuum Pump
- ปั๊มสูญญากาศ แบบ Gas Ejector
การใช้งาน
- ปั๊มสูญญากาศ แบบ Liquid RingVacuum Pump
ปั๊มสูญญากาศ แบบ Liquid Ring Vacuum Pump หรือปั๊มสูญญากาศแบบวงแหวนน้ำ เป็นระบบปั๊มสูญญากาศที่มีหลักการทำงานที่เรียบง่าย โดยอาศัยแรงเหวี่ยงของใบพัดเพื่อช่วยทำให้ของเหลวภายในตัวปั๊มสูญญากาศเกิดลักษณะที่เป็นวงแหวน และสามารถทำการบีบอัดก๊าซหรืออากาศเพื่อสร้างเป็นสภาวะสูญญากาศได้โดยที่ไม่มีชิ้นส่วนไหนของปั๊มสูญญากาศ (Vacuum Pump) ที่ต้องสัมผัสกัน เพราะฉะนั้นแล้วปั๊มสูญญากาศแบบ Liquid Ring Vacuum Pump จึงได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานเพื่อการช่วยจัดการกับสภาวะที่มีสารเคมีปนเปื้อนสูง สภาวะที่มีฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกปนเปื้อน ตลอดจนสภาวะที่มีอุณหภูมิสูง และสภาวะที่มีไอน้ำหรือความชื้นเป็นจำนวนมาก เป็นต้น
- ปั๊มสูญญากาศแบบ Liquid Ring Compressor Pump
ปั๊มสูญญากาศ แบบ Liquid Ring Compressor Pump หรือปั๊มสูญญากาศแบบคอมเพรสเซอร์วงแหวนน้ำ จะมีหลักการทำงานเพื่อการช่วยสร้างสภาวะสูญญากาศ โดยอาศัยแรงหมุนของใบพัดเพื่อสร้างวงแหวนของเหลวเช่นเดียวกันปั๊มสูญญากาศ แบบ Liquid Ring Vacuum Pump แต่อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการใช้งานปั๊มสูญญากาศ แบบ Liquid Ring Compressor Pump นั้นก็ถือได้ว่ามีข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าปั๊มสูญญากาศ แบบ Liquid Ring Vacuum Pump ค่อนข้างมากส่งผลให้ปั๊มสูญญากาศ แบบ Liquid Ring Compressor Pump หรือปั๊มสูญญากาศแบบคอมเพรสเซอร์วงแหวนน้ำ จึงได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องการนำก๊าซหรือไอระเหยหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ในอุตสาหกรรม ตลอดจนการนำมาใช้งานแบบเฉพาะด้านเพื่อการช่วยบีบอัดก๊าซคลอรีนหรือไฮโดรเจน, การผลิตมอนอเมอร์ (Monomer) ของ Vinyl Chloride, การผลิตไบโอดีเซล, การผลิตเอทานอล, ตลอดจนกระบวนการ Tranesterification เป็นต้น
- ปั๊มสูญญากาศแบบ Dry Vacuum Pump
Dry Vacuum Pump หรือปั๊มสูญญากาศแบบแห้ง เป็นปั๊มสูญญากาศ (Vacuum Pump) ประเภทหนึ่งที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เนื่องจากกระบวนการสร้างสภาวะสูญญากาศของปั๊มสูญญากาศ แบบ Dry Vacuum Pump นั้นอาศัยเพียงแค่การหมุนสวนทางกันของเกลียวที่อยู่ในปั๊มสูญญากาศ เพื่อกักเก็บก๊าซหรืออากาศให้อยู่ในระหว่างร่องของเกลียว โดยที่ไม่ต้องมีการใช้น้ำ น้ำมัน หรือสารหล่อลื่นประเภทต่าง ๆ รวมไปถึงไม่ได้มีการก่อให้เกิดความร้อนหรือการเผาไหม้ในระหว่างการใช้งาน ส่งผลให้ปั๊มสูญญากาศ แบบ Dry Vacuum Pump จึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้งานในสภาวะที่มีการกัดกร่อนสูง หรือสภาวะที่ไอของสารเคมีและ ไอน้ำเกิดการปนเปื้อนสูง ตลอดจนการนำมาใช้งานเพื่อกู้คืนไอระเหยที่ไม่ความแน่น (Uncondensed Vapour) ของตัวทำละลายประเภทต่าง ๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- ปั๊มสูญญากาศแบบ Gas Ejector
ปั๊มสูญญากาศ แบบ Gas Ejector เป็นปั๊มสูญญากาศ (Vacuum Pump) ที่ได้รับความนิยมในการนำมาสร้างสภาวะสูญญากาศในระบบต่าง ๆ ที่มีรูปแบบการใช้งานที่มีความหลากหลาย เนื่องด้วยหลักการทำงานของปั๊มสูญญากาศ แบบ Gas Ejector ที่มีการใช้แก๊สแรงดันสูงในการทำหน้าที่บีบอัดแก๊สส่วนเกินตามทฤษฎีของเบอร์นูลี่ (Bernoulli’s Principle) เพื่อสร้างสภาวะสูญญากาศโดยที่ไม่ทำให้ชิ้นส่วนปั๊มสูญญากาศ แบบ Gas Ejector ต้องเกิดการเคลื่อนไหวที่นำไปสู่การสึกหรอและการเสื่อมสภาพเกิดขึ้น ส่งผลให้โดยส่วนใหญ่แล้วปั๊มสูญญากาศแบบ Gas Ejector จึงมักจะถูกนำมาใช้งานเพื่อการช่วยกู้คืนแก๊สที่กำลังลุกเป็นไฟจากถังเก็บ หรือนำมาใช้สำหรับการกลั่นน้ำมันดิบ เป็นต้น